เตือนภัย! กู้ออนไลน์ไม่ให้โดนหลอก

เตือนภัย! กู้ออนไลน์ยังไง? ไม่ให้โดนหลอก

เตือนภัย ! มุกใหม่ของมิจฉาชีพ ตีเนียนเป็นพนักงานธนาคารหรือนายหน้า ปล่อยสินเชื่อให้วงเงินสูง โดยให้โอนเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ พอมีคนหลงเชื่อโอนเงินไป มิจฉาชีพก็จะฉกเงิน แล้วบล็อกหนี

มารู้เท่าทันกลโกง เพื่อเซฟเงินในบัญชีของคุณให้ปลอดภัยกันดีกว่า

3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสินเชื่อเงินก้อนก่อนโดนหลอก

1. ธนาคารต่าง ๆ จะไม่มีนโยบายเก็บค่านายหน้า หรือค่าสมัครบริการเพื่อการอนุมัติสินเชื่ออย่างเด็ดขาด ถ้ามีเรียกเก็บเงินคือคุณโดนหลอกแล้วนะคะ

2. การชำระสินเชื่อต้องใช้วิธีการหักบัญชีธนาคารของคุณเท่านั้น ธนาคารไม่มีนโยบายจัดส่งเจ้าหน้าที่ หรือตัวแทนของธนาคารไปเรียกเก็บเงินค่างวด หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ต่อให้ใส่สูท แต่งตัวดี มีบ้ตรประจำตัวห้อยคอก็ตาม

3 เมื่อได้รับ SMS อนุมัติวงเงินสูง อย่าคลิกลิงก์จากเบอร์แปลก เพราะอาจเป็น SMS ปลอม หลอกให้คลิกลิงก์เพื่อให้คุณหลวมตัวทำธูรกรรมปลอม เพื่อดูดข้อมูลส่วนตัว หรือเพื่อการทุจริตอื่น ๆ

วิธีป้องกันง่ายๆ คือต้องมีสติ ไม่โลภ ไม่ประมาท

ระวังภัย! กู้ออนไลน์ยังไง? ไม่ให้โดนหลอก ตรวจสอบให้ดี  ไม่เสียรู้โจร

การกู้เงินทุกวันนี้ทำได้ง่ายมากผ่านโทรศัพท์มือถือ แตะไม่กี่ทีก็ได้เงินเข้าบัญชีธนาคารพร้อมใช้แล้ว แต่สิ่งที่ควรระวังให้มากคือ อย่าหลงไปกู้เงินออนไลน์กับแอปเถื่อน แอปลวงโลก แอปผิดกฎหมาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังกู้เงินกับแอปถูกฎหมายหรือแอปผิดกฎหมาย เรื่องนี้ต้องไปอ่านกันค่ะ

จุดสังเกต สัญญาณอันตรายของแอปเงินกู้ผิดกฎหมาย

แอปเงินกู้เถื่อนพวกนี้มักให้เงินกู้ไม่เต็มจำนวน ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน ปัญหาคือ เวลาจ่ายคืนเงินกู้ คุณต้องจ่ายเต็มจำนวน บวกกับดอกเบี้ย หรือต้องจ่ายค่าปรับสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด หากจ่ายช้าจะถูกข่มขู่ คุกคาม หรือติดต่อไปทวงเงินกับบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในโทรศัพท์ของคุณ ทำให้เกิดความอับอายขายหน้า เพราะผู้ให้กู้สินเชื่อนอกระบบพวกนี้มักจะให้ผู้กู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ซึ่งจะขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของเราได้ทุกซอกทุกมุมที่เป็นส่วนตัว อย่าเผลอคลิกอนุญาตเด็ด ถ้าพลาดไปแล้วต้องเข้าไปในโทรศัพท์มือถือ แล้วจัดการคลิกไม่อนุญาตโดยเร็วที่สุด

จุดสังเกตต่อไปคือ พวกแอปเงินกู้เถื่อนจะมีใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น โฆษณาบนเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ส่ง SMS หรือแม้แต่โทรหาโดยตรง โดยใช้ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีหลักประกัน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้ อะไรทำนองนี้ เรียกว่าทำให้ดูเหมือนกู้เงินง่าย ๆ ทำให้คนที่ร้อนเงินรีบหุบเหยื่อทันที หากผู้ที่ได้รับการติดต่อสนใจ มิจฉาชีพก็จะส่ง SMS มาให้คลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอป หรือให้แอดไลน์คุยกัน จากนั้นจะสอบถามข้อมูลส่วนตัว ให้ทำสัญญาเงินกู้ และขอเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชีเงินฝาก คล้ายกับการขอกู้ที่ธนาคาร ทำให้เหยื่อเริ่มเชื่อใจ จากนั้นจะโน้มน้าวให้โอนเงินเป็นค่าค้ำประกัน โดยบอกว่าจะคืนให้พร้อมกับเงินกู้ หากหลงกลก็จะหลอกล่อให้โอนเพิ่มอีกเรื่อย ๆ เช่น อ้างว่าโอนเงินไม่ได้เพราะเหยื่อกรอกเลขที่บัญชีผิด มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขเอกสารเพื่อปลดล็อก หรือต้องจ่ายค่าลัดคิวจึงจะได้เงินเร็วขึ้น หากเหยื่อเริ่มรู้ทันก็จะถูกบล็อก ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้อีก

การป้องกันตัว ไม่ติดกับดัก หรือโดนหลอก ต้องทำอย่างไร

ตรวจสอบรายชื่อแอปและชื่อผู้ให้บริการ 

ผู้กู้ต้องนำข้อมูลชื่อแอปและชื่อผู้ให้บริการไปเทียบกับรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของแบงค์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย ตามลิงก์ด้านล่างบทความนี้ จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อ ที่ได้รับอนุญาตแล้ว และยังมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์กระทรวงการคลัง ซึ่งรวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อไว้ด้วย

ติดต่อสอบถามตามที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่เป็นทางการตามกฎหมาย

ผู้กู้ต้องแน่ใจก่อนว่าชื่อแอปพลิเคชั่น โลโก้ ที่อยู่และเบอร์โทร.นั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะบางครั้งมิจฉาชีพหรือแอปเงินกู้นอกระบบจะตั้งชื่อแอปคล้ายคลึงกับผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต หรือสวมรอยเป็นผู้ได้รับอนุญาต ผู้กู้จึงควรสอบถามหรือหาข้อมูลด้วยตัวเองจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ว่าเป็นแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการสินเชื่อจริงหรือไม่

เลือกแหล่งดาวน์โหลดแอปที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ 

ผู้กู้ต้องไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูก การเจลเบรคหรือรูท ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อป้องกันภัยจากมัลแวร์

อย่าลืมอ่านเงื่อนไขก่อนกู้             

ไม่รีบกู้จนลืมดูรายละเอียดที่จำเป็น เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ที่สำคัญ คุณต้องคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระของคุณด้วย โดยควรกู้เท่าที่จำเป็น และภาระผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เพื่อไม่ให้เกินความสามารถให้การชำระหนี้ จะได้ไม่เสียเครดิต สามารถกู้เงินได้เรื่อย ๆ ในอนาคต ไม่ติดแบล็คลิสต์จนหมดอนาคต

ตรวจสอบก่อนกู้

ตรวจสอบรายชื่อผู้ปล่อยกู้ ที่ได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกลิงก์นี้   


หมายเหตุ หากโอนเงินไปให้มิจฉาชีพแล้ว ให้รีบไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ หรือหากต้องการขอคำปรึกษาหรือแจ้งเบาะแส สามารถติดต่อ ศปอส.ตร. (ตำรวจ PCT) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599

เตือนภัย! กู้ออนไลน์ยังไง? ไม่ให้โดนหลอก – ภาพประกอบจาก Image by lifeforstock on Freepik

เว็บไซต์ tubtab.com